ทีมครูของกิจกรรม “ปราณายามะ-วิถีแห่งการสังเกตอารมณ์” คือ ครูแดง ณัฐิยา โกสินทรานนท์ ครูหนึ่ง กฤษณ์ ฟักน้อย ครูหมู กุลธิดา แซ่ตั้ง ลิ้งค์สำหรับลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมครับ https://register.bia.or.th/
อบรมครูโยคะเพื่อการพัฒนาจิต ปี พ.ศ. 2564 (T21) หลักสูตรฝึกต่อเนื่อง 3 เดือน เรียนทุกเย็นวันจันทร์ พุธ ศุกร์ เวลา 17.00 – 19.30 น. ประมาณ 40 คาบ (100 ชั่วโมง) โดย ครูฮิโรชิ ฮิเดโกะ ไอคาตะ ณ มูลนิธิโรจนธรรม ซอยสุขุมวิท 23 รับผู้เรียน 20 คน ยังคงติดสถานการณ์โควิด เมื่อมาตรการการเดินทางเข้าประเทศผ่อนคลายลงแล้ว สถาบันฯ จะรีบกำหนดวัน แล้วประกาศให้ทราบต่อไป ข้อมูล ณ วันที่ …
#เล่าเรื่องสารัตถะ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 เดิมทีสถาบันโยคะวิชาการเรามีสื่อที่จะติดต่อกับเครือข่ายเพื่อนครูโยคะผ่านทางจดหมายข่าวชื่อ ‘จุลสารโยคะสารัตถะ’ โดยออกเป็นรายเดือน มีหลากหลายบทความแยกตามแต่ละคอลัมน์อยู่ในฉบับเดียวกัน ที่เริ่มต้นเราพิมพ์สีเดียว โดยใช้กระดาษ A4 ประมาณสิบกว่าหน้าเย็บแม็ค แล้วส่งทางไปรษณีย์ จน ปี พ.ศ.2550 จึงพัฒนามาเป็นจุลสารพิมพ์ 2 สีเล่มเล็กๆ ดังรูป ขนาดพอดี ภาพสวย มีการออกแบบ การจัดหน้า ที่พิถีพิถันมากขึ้น เรียกได้ว่าสวยงามสมความตั้งใจ เป็นจำนวน 13 เล่ม ก่อนที่จะต้องลดรูปแบบลงเป็นแบบเดิมอีกครั้งด้วยเหตุผลเรื่องทุนสนับสนุน … แต่กองบรรณาธิการก็ไม่ได้ย่อท้อ ยังคงตั้งใจเผยแพร่บทความดีๆ ต่อไป ซึ่งในภายหลังได้พัฒนาเป็น E-Book และส่งทาง Email ส่วนในรูปแบบกระดาษก็ยังคงมีส่งทางไปรษณีย์ให้สมาชิกกลุ่มเล็กๆ ที่แม้ว่าจำนวนไม่มากนัก …
#ระหว่างทาง เ ป รี ย บ ดั่ ง ผู้ ที่ กำ ลั ง ปี น เ ข า ไม่ได้มีสติอยู่บนยอดภูสูงอันไกลโพ้น หากแต่ต้องจดจ่ออยู่กับก้อนหินแต่ละก้อนที่กำลังเหยียบย่าง มิเช่นนั้นแล้ว.. อาจก้าวพลาดจนทำให้ได้รับบาดเจ็บ กระทั่งไม่สามารถไปถึงยังจุดหมายได้ ก า ร ฝึ ก อ า ส น ะ ก็ เ ช่ น เ ดี ย …
#จะกลับบ้านยังไง โยคะเป็นภูมิปัญญาอินเดียโบราณว่าด้วยแนวคิดเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตให้พ้นไปจากความทุกข์ที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าตลอดเวลา โยคะมีทรรศนะว่าจิตปรุงแต่งคือสาเหตุแห่งทุกข์ เดิมทีจิตเราบริสุทธิ์ อยู่ในบ้านด้วยความสงบ แต่เพราะเราเริ่มมีความอยาก จิตจึงเริ่มเตร็ดเตร่ออกจากบ้าน มิหนำซ้ำยังเข้าใจผิดว่าความสนุกสนานนอกบ้านเป็นเรื่องดีจึงหลงอยู่นอกบ้านเป็นเวลาเนิ่นนาน . . การฝึกโยคะเป็นประจำสม่ำเสมอคือการค่อยๆ ดับการปรุงแต่งของจิต ค่อยๆ เดินทีละก้าว (1.21) จนในที่สุด จิตที่หลงทางนั้นก็สามารถกลับถึงบ้านสู่ความสงบเย็นตามเดิม . . โยคะสูตรกล่าวถึงการพาจิตหลงทางกลับบ้านไว้อย่างไร ปตัญชลีผู้รวบรวมตำราโยคะสูตรอันเป็นตำราแม่บทในการศึกษาโยคะระบุว่า สิ่งที่ดารดาษนอกบ้านนั้นคือกิเลส นำพาเราไปสู่ความอร่อย ความสนุก ความเตลิด ฉะนั้นเราจะกลับบ้านได้ก็ด้วยการทวนกระแสกิเลส (2.10) ซึ่งมีได้หลายๆ ช่องทาง เช่น ด้วยความอดทน (2.1) โดยเราต้องเท่าทันธรรมชาติของความโลภว่ามันมีแต่จะเพิ่มขึ้นๆ ไม่สิ้นสุด (2.19) ด้วยการศึกษาเรียนรู้ (2.1) ข้อมูลประสบการณ์ต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการเดินทางกลับบ้าน ด้วยศรัทธา (2.1) …
#ฟัง บางครั้งการใช้ชีวิตมันก็ยาก ที่จะรู้ว่าตรงไหนคือตรงกลาง และแค่ไหนจึงจะพอดี แต่โยคะสอนให้เรารู้จักสิ่งเหล่านั้นผ่านการฝึกอาสนะ โดยสอนให้เราเฝ้าสังเกตสิ่งที่เกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อระหว่างการฝึก ซึ่งหากตึงมากไปก็ผ่อนลงอีกนิด หรือหากย่อหย่อนไปก็เหยียดยืดขึ้นอีกหน่อย ขณะเดียวกันก็ฝึกที่จะเท่าทันปฏิกิริยาของใจ ที่เคลื่อนไหวอยู่เสมอ แม้กายนิ่ง และฝึกที่จะฟังเสียงกาย หาจุดที่ลงตัวระหว่างความมั่นคงที่จะคงค้างอยู่ในท่วงท่านั้นได้ แต่ยังเบาสบาย มีสติ และเมื่อเราเริ่มรู้จักความพอดีจากการฝึก เมื่อนั้นเราอาจเริ่มเรียนรู้ที่จะหาความพอดีได้ กับบางเรื่องราวในชีวิต โดยรู้จักที่จะรับฟังเสียงต่างๆ บ้าง แ ท น ที่ จ ะ ฟั ง เ พี ย ง เ สี ย ง ข อ ง ใ …