มูลนิธิโรจนธรรม และ สถาบันโยคะวิชาการ จัด “โยคะ@โรจนธรรม” โดย ครูแดง ณัฐิยา โกสินทรานนท์ วันเสาร์ที่ 9 มกราคม 2564 เวลา 10.00-12.00 น. ณ มูลนิธิโรจนธรรม สุขุมวิท ซอย 23 ฟรี (เชิญร่วมสมทบค่าใช้จ่ายในการจัดกิจกรรม) เนื่องจากสถานการณ์โควิด รับไม่เกิน 16 คน และผู้เรียนต้องลงทะเบียนล่วงหน้าเท่านั้น กรอกใบสมัครได้ที่ลิงค์ https://forms.gle/ZQhk3oB2toU3t3ms9 สอบถามรายละเอียด สถาบันโยคะวิชาการ โทร 081-401-7744
#ฟัง บางครั้งการใช้ชีวิตมันก็ยาก ที่จะรู้ว่าตรงไหนคือตรงกลาง และแค่ไหนจึงจะพอดี แต่โยคะสอนให้เรารู้จักสิ่งเหล่านั้นผ่านการฝึกอาสนะ โดยสอนให้เราเฝ้าสังเกตสิ่งที่เกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อระหว่างการฝึก ซึ่งหากตึงมากไปก็ผ่อนลงอีกนิด หรือหากย่อหย่อนไปก็เหยียดยืดขึ้นอีกหน่อย ขณะเดียวกันก็ฝึกที่จะเท่าทันปฏิกิริยาของใจ ที่เคลื่อนไหวอยู่เสมอ แม้กายนิ่ง และฝึกที่จะฟังเสียงกาย หาจุดที่ลงตัวระหว่างความมั่นคงที่จะคงค้างอยู่ในท่วงท่านั้นได้ แต่ยังเบาสบาย มีสติ และเมื่อเราเริ่มรู้จักความพอดีจากการฝึก เมื่อนั้นเราอาจเริ่มเรียนรู้ที่จะหาความพอดีได้ กับบางเรื่องราวในชีวิต โดยรู้จักที่จะรับฟังเสียงต่างๆ บ้าง แ ท น ที่ จ ะ ฟั ง เ พี ย ง เ สี ย ง ข อ ง ใ …
#ดูแลความสัมพันธ์ระยะท้ายแบบประคับประคอง “แม่เลี้ยงดูเขามาตั้งแต่เล็กแต่น้อย มาวันนี้พอเขาโต เขาก็ไล่แม่ออกจากบ้าน” คนเป็น ‘แม่’พูดพร้อมกับน้ำตาที่ไหลริน บ่นน้อยใจที่มีเรื่องแบบนี้เกิดขึ้น . . เมื่อฟังประโยคเดียวแค่นี้ บางคนอาจจะตัดสินไปแล้วว่า ลูกใครหนอ ? อกตัญญูกับแม่ที่เลี้ยงมาได้ลงคอ ครั้นถามต่อไปว่า แล้วแม่จะอยู่กับใคร แม่ก็ตอบว่าจะย้ายไปอยู่บ้านลูกชายอีกคน ถ้าเกิดว่าแม่บ่นน้อยใจออกโซเชียลได้ ก็คงจะมีคอมเม้นต์เข้ามาจำนวนมากมาย แล้วแต่ว่าใครจะ #ทีมแม่ หรือ #ทีมลูก และถ้าจำนวนคอมเม้นต์ไปถึงระดับกระจายตัวทั่วสังคม ก็อาจจะมีสื่อมาตามสัมภาษณ์แม่ ลูก แล้วเรื่องระหว่างคนสองคนในบ้านหลังเดียว ก็อาจจะขยายลุกลามบานปลายเป็น Share of the dayได้ในชั่วระยะเวลาไม่นาน . . มนุษย์เราเกิดมามีความเสมอภาคที่ได้มากันทุกคน คืออยู่ในกรงล้อมของ “แก่, เจ็บและตาย” ยังมีเรื่องหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับคนเราด้วยก็คือ‘ความสัมพันธ์’ ไม่ว่าคนเราจะมีบทบาทความสัมพันธ์แบบใด เช่นพ่อ แม่ ลูก หลาน …
การฝึกควรเริ่มต้นด้วยการผ่อนคลายจิตใจให้สงบ ควรเริ่มฝึกอย่างช้าๆ ด้วยความสบาย และมีสติอยู่กับกายและลมหายใจ