เป็นแอพสอนโยคะตามตำราดั้งเดิมที่ตั้งอยู่บนหลักการว่าโยคะประกอบด้วยการดูแลร่างกายด้วยอาสนะ ดูแลอารมณ์ด้วยปราณายามะ และดูแลจิตใจด้วยสมาธิ ออกแบบมาให้โหลดบนมือถือ (ทั้งแอนดรอยด์และแอบเปิ้ล) ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ
When they step into our cool shade they stop to breathe and. They face the challenge of keeping their sperm clomid price pharmacy Colombo alive and healthy. Vaikka ulkoministeri auli aho (kesk) on ollut keskustan asemast.
Buy from the world's largest pharmacies and save big. Purchase Cornellà de Llobregat getting clomid in uk ivermectin online no prescription needed. Generic nolvadex is the trade name for the drug nolvadex and it is also available commercially under many brand names.
แอพแบ่งเป็น 2 ภาค ภาคแรกคือ การศึกษาแต่ละเทคนิคของโยคะให้เข้าใจเสียก่อน ซึ่งมีทั้งหมด 31 เทคนิค ภาคที่สองจึงจะเป็นการฝึก โดยมีเงื่อนไขว่าผู้ใช้แอพต้องดูภาคแรกเสียก่อน แอพจึงจะอนุญาตให้เราเข้าภาคการฝึกได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี เป็นการกำหนดให้ผู้ที่อยากจะฝึกต้องมีความรู้ก่อน อันนำไปสู่การฝึกที่ได้ประโยชน์ตรงตามที่โยคะตั้งใจ ด้วยความปลอดภัย
จุดเด่นของแอพ WHO mYoga
- โหลดแอพง่าย ใช้งานสะดวก
- เทคนิคโยคะไหนค่อนข้างซับซ้อน ก็จะมีแบบง่ายแนะนำไว้ด้วย บางเทคนิคมีแนะนำให้ใช้อุปกรณ์เพื่อช่วยในการฝึก
- ภาพชัด สวยงาม
- เสียงบรรยายชัดเจน มีเครื่องดนตรีอินเดียบรรเลงประกอบด้วย
- แต่ละเทคนิค มีคำอธิบายตอนต้น มีคำเตือนถึงข้อจำกัดสำหรับผู้ที่ยังไม่เคยฝึกหรือเพิ่งเริ่มต้นฝึก
- บรรยายสรุปบอกประโยชน์ ในตอนท้ายด้วย
- มีแอนนิเมชั่น ลูกศรบอกทิศทางของการเคลื่อนไหว ช่วยให้เข้าใจลำดับการฝึก
- ทุกเทคนิค สามารถเซฟในโทรศัพท์เราได้
ข้อจำกัด
- เป็นภาษาอังกฤษ ทั้งเสียงพากย์ และ ตัวอักษร
แอพออกตัวว่า เป็นการออกแบบสำหรับคนที่มีสุขภาพปกติ ส่วนสตรีที่ตั้งครรภ์, คนที่อายุเกิน 65 ปี, ผู้มีโรคประจำตัว, ผู้มีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายจากการฝึกโยคะ ควรปรึกษาแพทย์-ผู้เชี่ยวชาญก่อนใช้แอพนี้
แอพมี 2 ภาค
1 ภาคแรก : การศึกษา Learning
แบ่งเป็น 3 ระดับ
- การศึกษาระดับที่ 1 มี 11 เทคนิค ใช้เวลาในการดูคลิปเพื่อศึกษาประมาณ 35 นาที
- การศึกษาระดับที่ 2 คือ 11 เทคนิคของระดับแรก บวกเพิ่มของระดับ 2 อีก 8 รวมเป็น 19 เทคนิค ใช้เวลาในการดูคลิปเพื่อศึกษาอีก 8 เทคนิคนี้ประมาณ 30 นาที
- การศึกษาระดับที่ 3 คือ 11 เทคนิคของระดับแรก บวก 8 เทคนิคของระดับสอง แล้วบวกเพิ่มอีก 12 รวมเป็นทั้งหมด 31 เทคนิค ใช้เวลาในการดูคลิปเพื่อศึกษาอีก 12 เทคนิคนี้ประมาณ 40 นาที
หากเราศึกษาทั้ง 31 เทคนิคเลย ใช้เวลารวม 1 ชั่วโมง 40 นาที
- หากเรายังไม่ได้เข้าไป “ศึกษา” ในระดับแรกจนครบ 11 เทคนิค เราจะไปยังระดับ “การฝึก” ไม่ได้
- ระหว่าง “ศึกษา” ถ้าเราหยุดซะก่อนจบ แอพจะระบุว่ายังดูไม่จบ in progress ซึ่งก็จะไม่อนุญาตให้เราไปยังระดับ “การฝึก”
- โดยเราสามารถย้อนกลับมา “ศึกษา” ได้
- เมื่อดูเทคนิคใดเทคนิคหนึ่งจนจบแล้ว แอพจะระบุว่า สมบูรณ์ completed
- สำหรับผู้ที่ดูจบ แล้วอยากกลับมาดูใหม่ก็ได้ การดูใหม่นี้แอพจะแจ้งว่า เราได้ย้อนกลับมาดู re-viewing
2 ภาคที่สอง ภาคการฝึก practice
เป็นวิดีโอชวนฝึกแต่ละเทคนิคเรียงร้อยไปตามลำดับ ผู้ใช้แอพสามารถฝึกไปพร้อมๆ กันได้เลย (แบบ real time) ซึ่งมี 3 แบบให้เลือกคือ แบบฝึก10 นาที, 20 นาที และ 45 นาที ทั้งยังสามารถเลือกได้ว่าจะเปิดดูทั้งภาพและเสียง หรือจะเลือกฟังเฉพาะเสียงอย่างเดียว ซึ่งเหมาะสำหรับคนที่ดูแอพนี้มาหลายครั้งจนจำเทคนิคได้แล้ว โดยเพียงแค่จะฟังเสียงเพื่อให้ฝึกไปตามแอพเท่านั้น
ผู้ที่ “ศึกษา” แบบ 10 นาทีครบแล้ว ก็จะมีสิทธิ์มาฝึกแบบ 10 นาทีได้ แต่จะยังไปเลือกฝึกแบบ 20 หรือ 45 นาทีไม่ได้ เรียกว่าเขาให้ความสำคัญกับความปลอดภัยมาก ซึ่งผู้เขียนเห็นด้วยอย่างยิ่ง อยากจะบอกผู้สนใจแอพนี้ว่า การฝึกโยคะเป็นเรื่องที่เราค่อยๆ ฝึกไปตามศักยภาพ ใจเย็นๆ ปล่อยให้ร่างกาย อารมณ์ จิตใจ ของเราค่อยๆ พัฒนาไปตามจังหวะชีวิตของตน ซึ่งแต่ละคนมีจังหวะเร็ว-ช้าเฉพาะของตัวเอง โดยใครจะมีจังหวะอย่างไร เป็นเรื่องรู้ได้ด้วยตัวเองเท่านั้น น่ะ
ลำดับเทคนิคของการฝึกแบบที่ 1 ใช้เวลา 10 นาที (เวลาจริงคือ 10:12 นาที) เป็นดังนี้
เริ่มต้น เตรียมใจสงบ
บริหารคอ
บิดลำตัว
อาสนะ ท่าต้นตาล
ท่ากงล้อ ½ ตัว
ท่ากระต่าย
ท่างู
ท่าขับลม
หายใจ การหายใจสลับรูจมูก
นั่งสมาธิ
ปิดท้ายด้วยการสวดมนตร์
ส่วนลำดับเทคนิคของการฝึกแบบที่ 2 (20 นาที) และและแบบที่ 3 (45 นาที) นั้น ผู้สนใจก็สามารถเข้าเวบไปดูได้เลย
โดยสรุป ผู้เขียนเห็นว่าแอพนี้เหมาะสำหรับผู้สนใจโยคะที่ไม่มีโอกาสไปฝึกโยคะตามศูนย์เสียที ยิ่งช่วงโควิดนี้ เราใช้เวลาอยู่กับบ้านค่อนข้างมาก จึงอยากเชิญชวนผู้อ่านนิตยสารหมอชาวบ้านที่สนใจอยากฝึกโยคะ ลองโหลดแอพนี้มาศึกษาและฝึกกันนะครับ
แบบที่ 1 10 นาที |
แบบที่ 2
20 นาที |
แบบที่ 3
45 นาที |
เวลา ชม : นาที : วินาที |
ทำใจสงบก่อนเริ่มฝึก |
ทำใจสงบก่อนเริ่มฝึก | ทำใจสงบก่อนเริ่มฝึก invocation | 0:1:17 |
บริหารคอ |
บริหารคอ | บริหารคอ neck movements | 0:6:32 |
เคลื่อนไหวแขนและหัวไหล่ shoulder & arm movements |
0:3:11 |
||
บิดลำตัว |
บิดลำตัว | บิดลำตัว trunk twisting | 0:1:45 |
|
เคลื่อนไหวเข่า knee movements | 0:1:20 | |
ท่าต้นตาล | ท่าต้นตาล | ท่าต้นตาล tadasana |
0:2:18 |
ท่าต้นไม้ vrikshasana |
0:3:51 |
||
|
ท่ายืนก้มตัว มือถึงเท้า padahastasana | 0:2:48 | |
ท่ากงล้อ ½ ตัว | ท่ากงล้อ ½ ตัว | ท่ากงล้อ ½ ตัว ardha chakrasana |
0:2:25 |
|
ท่าสามเหลี่ยม | ท่าสามเหลี่ยม trikonasana | 0:4:17 |
ท่าผีเสื้อ | ท่าผีเสื้อ bhadrasana |
0:3:23 |
|
|
ท่านั่งเพชร vajrasana | 0:3:29 | |
ท่าอูฐ ½ ตัว | ท่าอูฐ ½ ตัว ardha ushtrasana |
0:4:07 |
|
|
ท่าอูฐ ushtrasana | 0:5:07 | |
ท่ากระต่าย | ท่ากระต่าย | ท่ากระต่าย shashakasana |
0:3:57 |
|
ท่ากบ uttana mandukasana | 0:4:17 | |
ท่าบิดสันหลัง | ท่าบิดสันหลัง vakrasana |
0:5:43 |
|
|
ท่าจระเข้ makarasana | 0:1:49 | |
ท่างู | ท่างู | ท่างู bhujamgasana |
0:3:34 |
|
ท่าตั๊กแตน shalabhasana | 0:4:01 | |
ท่าสะพาน setubandhasana |
0:2:40 |
||
|
ท่ายกขา 45 องศา | ท่ายกขา 45 องศา Uttana padasana | 0:2:31 |
ท่าคันไถ ½ ตัว ardha halasana |
0:2:58 |
||
ท่าขับลม |
ท่าขับลม | ท่าขับลม pavanamuktasana | 0:3:54 |
ท่าศพ shavasana |
0:1:47 |
||
|
หายใจด้วยท้อง เร็วๆ | หายใจด้วยท้อง เร็วๆ kapalabhati | 0:3:04 |
การหายใจสลับรูจมูก | การหายใจสลับรูจมูก | การหายใจสลับรูจมูก nadishodhana pranayam |
0:2:57 |
|
หายใจ ลดอุณหภูมิ | หายใจลดอุณหภูมิ shitali pranayam | 0:2:01 |
หายใจเสียงผึ้ง |
หายใจเสียงผึ้ง bhramari pranayam |
0:2:20 |
|
นั่งสมาธิ |
นั่งสมาธิ | นั่งสมาธิ dharana & dhyana | 0:2:28 |
สวดมนตร์ปิดท้าย | สวดมนตร์ปิดท้าย | สวดมนตร์ปิดท้าย closing prayer |
0:1:36 |
0:32:43 | 1:00:09 | 1:37:27 |
|